เนื่องจากประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของ “สังคมผู้สูงอายุ”
จากสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยนับจากปี พ.ศ.2538 จนถึง ปีพ.ศ.2553 จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จากเดิม 4,816,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 7,639,000 คน ในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 75 ปี จากเดิม 948,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 1,588,000 คน และจากข้อมูลสถิติการฆ่าตัวตายในประเทษไทยของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณะสุข พบว่า ผู้สูงอายุ มีอัตราการฆ่าตัวตายมากขึ้นแซงหน้ากลุ่มวัยทำงานช่วงอายุ 20-29 ปี โดยกลุ่มผู้สูงอายุในวัย 70-74 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มผู้สูงอายุวัย 80-84 ปี สาเหตุจากการฆ่าตัวตายที่เพิ่มมากขึนในกลุ่มของผู้สูงอายุนั้น เนื่อมาจาก บุคคลเหล่านี้ประสบปัญหาหลายด้านเช่น ความเครียดด้านสุขภาพ การพลัดพรากจากสามีหรือภรรยาที้องตายจากกัน ความเหงา และสภาพที่ต้องอยู่คนเดียวเพียงลำพังจนเกิดความสิ้นหวังที่ตนเองต้องมาเป็นภาระแก่ลูก ๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ในทุก ๆ ด้าน จากหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพรวมถึงการได้รับการบริการด้านสาธารณสุข การออกไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในบ้าน รวมถึงการจัดสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุด้วย
ความเป็นมาของโครงการ
การเยี่ยมบ้านผู้อายุ คามิลเลี่ยนโซเชียล เซนเตอร์ จันทบุรี ของพระสังฆราช ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธ์ เมื่อต้นปี พ.ศ.2554 ทำให้ท่านเกิดแนวความคิดและมีความปรารถนาที่จะเชิญชวนให้ คณะนักบวชคามิลเลียน มาทำงานด้านผู้สูงอายุในเขตสังฆมณฑลนครราชสีมา เช่นเดียวกับที่ได้ทำที่สังฆมณฑลจันทบุรี ข้อตกลงร่วมกันที่จะสร้างบ้านผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้นหลังจากนั้น 3 เดือนต่อมา โดย คุณพ่อเชิดชัย เลิศจิตรเลขา เจ้าคณะนักบวชคามิลเลียน ได้จัดตั้งทีมงานเพื่อบริหารโครงการและจัดเตรียมแผนแม่บท (Master Plan) โดยพระสังฆราช ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ต้องการที่จะให้โครงการนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรคาทอลิก เป็นการแสดงถึงความเมตตาและความรักต่อผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยพระสังฆราช ได้มองที่ดินจำนวน 18 ไร่ มีพื้นที่ประมาณ 28,800 ตารางเมตร ที่อยู่ใจกลางเมืองโคราชและเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการระดมทุนในการก่อสร้าง
งบประมาณในการก่อสร้างและการดำเนินงาน
การก่อสร้างบ้านผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคอีสานเป็นการดำเนินโครงการแบบที่ให้การบริการครบวงจรแต่อยู่ในราคาที่ย่อมเยา ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น โดยงบประมาณส่วนหนึ่งนั้นมาจาก มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทยและสังฆมณฑลนครราชสีมา
การก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการออกแบบบ้านผู้สูงอายุร่วมทั้งส่วนประกอบอื่น ๆ ในพื้นที่ทั้งหมด และ วางศิลาฤกษ์ใน เดือน มกราคม 2556 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการรองรับผู้สูงอายุได้จำนวน 50 คนแรกภายในสิ้นปี พ.ศ.2557 และ จะค่อย ๆ ก่อสร้างเพิ่มเติมจนกว่าจะครบ 150 คน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ พื้นที่ทั้งหมดในการก่อสร้างประมาณ 11,000 ตารางเมตร อาคารที่สร้างสำหรับรองรับผู้สูงอายุจะเป็นอาคาร 2 ชั้น รวม 6 อาคาร งบประมาณการก่อสร้างเฉพาะตัวอาคาร รวม 80,000,000 บาท (แปดสิบล้านบาท) ส่วนระบบสาธารณูปโภคภายในอาคาร เช่น ลิฟต์ไฮโดรลิค 2 ตัว ระบบไฟฟ้า-ประปา ระบบเก็บกักน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบรักษาความปลอดภัย เฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งถนน ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างส่วนนี้อีกจำนวน 30,000,000 บาท (สามสิบล้านบาท)
เริ่มต้นในปี พ.ศ.2555 สังฆมณฑลนครราชสีมาและมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย มอบทุนทรัพย์ส่วนแรกในการก่อสร้างโครงการ หน่วยงานละ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) และในปี พ.ศ. 2556 จะมอบทุนทรัพย์เพิ่มเติมอีก หน่วยงานละ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้นที่ได้รับการสนับสนุนจากสังฆมณฑลนครราชสีมาและมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทยจำนวน 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาท) ซึ่งยังคงขาดงบประมาณอีกเป็นจำนวน 70,000,000 บาท (เจ็ดสิบล้านบาท) การขอรับบริจาคจากู้ที่มีจิตศรัทธา จีงเป็นสิ่งจำเป็นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และ ได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 และจะยังคงดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าโครงการนี้จะเสร็จสมบูรณ์
อาคารสำนักงานเพื่อใช้ในการระดมทุนและประชาสัมพันธ์ภายในโครงการหลังแรกก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว และบ้านผู้สูงอายุเฟสแรก จะเริ่มโครงการในเดือนพฤศจิกายน 2556 คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการรองรับผู้สูงอายุได้จำนวน 50 ท่านแรก ภายในปี พ.ศ.2558 พื้นที่ในการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 11,000 ตารางเมตร เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 7 หลัง และงบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 110,000,000 บาท (หนึ่งร้อยสิบล้านบาท) โดยแบ่งเป็นตัวอาคาร 80,000,000 บาท (แปดสิบล้านบาท) และระบบสาธารนูปโภคทุกอย่างภายในโครงการ อีก 30,000,000 บาท (สามสิบล้านบาท) และในเวลานี้ สังฆนณฑลนครราชสีมาและมูลนิธินักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทยได้มอบทุนทรัพย์ส่วนแรกในการก่อสร้าง หน่วยงานละ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) และในปี 2556 จะมอบทุนทรัพย์เพิ่มอีกหน่วยงานละ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) รวมเป็นเงินงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาท) แต่ยังคงขาดเงินงบประมาณอีกจำนวน 70,000,000 บาท (เจ็ดสิบล้านบาท) ซึ่งจำเป็นต้องขอรับบริจาคและเริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ดำเนินงานโดยคณะนักบวชคามิลเลียน
คณะนักบวชคามิลเลียน สมาของคณะได้เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 เพื่อทำงานด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วยและคนยากจน ภายใต้การจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย” เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ มีหน่วยงานหลักรวมทั้งสิ้น 17 แห่ง เช่น โรงพยาบาล, บ้านผู้สูงอายุ, ศูนย์ผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย, ศูนย์อบรมเด็กและเยาวชนที่ติดเชื้อเอช.ไอ.วี/เอดส์, ศูนย์อบรมเยาวชนชาวเขา, ศูนย์อบรมและพัฒนาเด็กพิการ และ ศูนย์อบรมสำหรับผู้ที่สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะเป็นต้น และ ในปี พ.ศ.2555 คณะนักบวชคามิลเลียน ได้ขยายงานเข้าสู่ภาคอีสาน ตามคำเชิญของ พระสังฆราชชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขแห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า เชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้บริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
ที่พักและการดูแลผู้สูงอายุในราคาที่ย่อมเยา
บ้านผู้สูงอายุ จะเปิดรับผู้สูงอายุที่พักประจำ จำนวน 150 คน และ แบบเช้าไป-เย็นกลับ (Day Care) อีกจำนวน 50 คน มีเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการดูแลให้ความช่วยเหลือตามความต้องการของแต่ละบุคคคล รวมถึงกรณีที่ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งจะได้รับการดูแลโดยความร่วมมือจากบุคคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในตัวเมืองโคราช
การให้บริการแบบเช้าไป-เย็นกลับ (Day Care) ซึ่งเปิดบริการเฉพาะ วันจันทร์ - วันศุกร์ เป็นการเปิดบริการสำหรับครอบครัวของผู้สูงอายุที่ลูก ๆ ไม่มีเวลาดูแลแต่ไม่อยากให้พ่อแม่ต้องอยู่คนเดียวตามลำพัง แผนกนี้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและมีความสุขที่สุดในบั้นปลายชีวิต
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.09 น. ได้มีพิธีเสกบ้านผู้สูงอายุราชสีมาโดยมุกขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขแห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา เป็นประธาน จัดขึ้น ณ วัดนักบุญคลารา ภายในบ้านผู้สูงอายุราชสีมา ซึ่งได้ทำการเสกอาคารต่างๆภายในบ้านผู้สูงอายุราชสีมา โดยได้ตั้งชื่ออาคารต่างๆตามชื่ออำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อาคารโชคชัย อาคารครบุรี อาคารจักราช อาคารบัวใหญ่ อาคารพิมาย อาคารปักธงชัย อาคารวังน้ำเขียว อาคารด่านขุนทด และ อาคารสีดา โดยภายในบริเวณงาน มีการจัดแสดงนิทรรศการ การออกโรงทาน โดยมีสัตบุรุษและประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์
ประมุขแห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา
ประธานในพิธีเสกบ้านผู้สูงอายุราชสีมา
บาทหลวงเชิดชัย เลิศจิตรเลขา
ประธานมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย
เวลา 10.30 น. ณ อาคารโชคชัย บ้านผู้สูงอายุราชสีมา นายธนพล จันทรนิมิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในการเปิดบ้านผู้สูงอายุราชสีมา โดยมี มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขแห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา บาทหลวงเชิดชัย เลิศจิตรเลขา ประธานมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย และ บาทหลวงโจวันนี กอนตาริน ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างบ้านผู้สูงอายุราชสีมา ให้การต้อนรับ และร่วมตัดริบบิ้น เปิดบ้านผู้สูงอายราชสีมาอย่างเป็นทางการ และได้เชิญท่านรองผู้ว่าฯ เยี่ยมชมห้องต่างๆภายในบ้านผู้สูงอายุราชสีมา ได้แก่ ห้องพยาบาล ห้องกายภาพ อาคารโภชนาการ ห้องพักเตียงเดี่ยว ห้องพักเตียงคู่ และห้องพัก 8 เตียง และร่วมรับประธานอาหารกลางวัน ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารวังน้ำเขียว โดยมีการแสดงจาก วงออร์เคสตรา โรงเรียนมารีย์วิทยา การแสดงจากผู้สูงอายุของสังฆมณฑลนครราชสีมาและผู้สูงอายุจากบ้านธรรมปกรณ์ การแสดงจากวิทยาลัยมารีย์บริหารธุรกิจ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา และโรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา
นายธนพล จันทรนิมิ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานในพิธีเปิดบ้านผู้สูงอายุราชสีมา